แหล่งสืบค้นข้อมูล

♦ วิธีผสมยาตามคำสั่งอัตราส่วน โรงพยาบาลสุโขทัย  

♦ แนวทางการประเมินและติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ADR)

♦ แนวทางการบริหารยาฉีด และการเก็บรักษายา multiple dose

♦ แนวทางปฏิบัติการ บริหารความคลาดเคลื่อนทางยา

♦ แนวทางปฏิบัติการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

♦ แนวทางปฏิบัติการบริหารจัดการยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)

♦ คู่มือการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)

♦ แนวทางปฏิบัติเมื่อพบปฏิกิริยาระหว่างยา (Drug Interaction)

♦ แนวทางการประเมินและทบทวนการใช้ยาต้านจุลชีพ (DUE)

♦ แนวทางปฏิบัติการจัดทำประสานรายการยา (Medication reconciliation)

♦ แนวทางปฏิบัติการกระจายยยา การเก็บรักษา และการควบคุมยาบนหอผู้ป่วย

♦ แนวทางปฏิบัติเกี่ยวการเก็บรักษายาแช่เย็นและวัคซีน  

♦ แนวทางการปฏิบัติสำหรับการเฝ้าระวังอุณหภูมิตู้เย็นจัดเก็บยา

♦ แนวทางการปฏิบัติการบริหารยาเคมีบำบัด

♦ แนวทางการปฏิบัติงานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก

♦ แนวทางปฏิบัติงานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยใน

♦ แนวทางการปฏิบัติงาน การคัดกรองใบสั่งยาผู้ป่วยนอก (Prescribing Screening OPD) 

♦ แนวทางการปฏิบัติงาน การคัดกรองใบสั่งยาผู้ป่วยใน (Prescribing Screening IPD) 

♦ การควบคุมยาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท

♦ แนวทางการป้องเกิด Phlebitis 

♦ แนวทางการจัดการ Phlebitis

♦ แนวทางปฏิบัติ Norepinephrine

♦ การบริหารยา Vancomycin

♦ ตารางแสดงอายุยาหลังเปิดใช้ (ยา Multiple Dose) ของโรงพยาบาลสุโขทัย

♦ แนวปฏิบัติตามเกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อจัดหาและการส่งเสริมการขายยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา โรงพยาบาลสุโขทัย พ.ศ. 2564

แม้จะมีการนำยาหลายชนิดมาใช้รักษาอาการคลื่นไส้และอาเจียนจากการตั้งครรภ์ (อาการแพ้ท้อง) เช่น ยาในกลุ่ม antihistamines ตัวอย่างได้แก่ diphenhydramine, meclizine, dimenhydrinate ยาในกลุ่ม dopamine antagonists ตัวอย่างได้แก่ promethazine, droperidol, metoclopramide และยาในกลุ่ม serotonin antagonists ตัวอย่างได้แก่ ondansetron เป็นต้น แต่ที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาที่ดีเพียงพอที่จะสนับสนุนประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาเหล่านี้ แม้ว่ายาหลายชนิดจะให้ผลดีกว่ายาหลอกและไม่ทำให้เกิดทารกพิการก็ตาม จนเมื่อเร็วๆ นี้มีการศึกษาทางคลินิกที่สนับสนุนประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาสูตรผสมที่ประกอบด้วย doxylamine succinate 10 มิลลิกรัม กับ pyridoxine hydrochloride 10 มิลลิกรัม เพื่อรักษาอาการคลื่นไส้และอาเจียนจากการตั้งครรภ์ อาจถือได้ว่าเป็นยาตำรับแรกที่ทำการศึกษาแบบ double-blind, randomized, placebo-controlled trial ในหญิงมีครรภ์ และ US FDA จัดยาตำรับนี้อยู่ใน pregnancy category A (ซึ่งหมายถึงมีความปลอดภัยต่อทารกในครรภ์) ยาสูตรผสมดังกล่าวผลิตออกจำหน่ายในรูป delayed-release tablet เพื่อรักษาอาการคลื่นไส้และอาเจียนจากการตั้งครรภ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้โดยไม่ใช้ยา โดยรับประทานวันละ 2 เม็ดก่อนนอน หากควบคุมอาการได้ไม่ดีพอก็สามารถเพิ่มขนาดยาได้ แต่สูงสุดไม่เกินวันละ 4 เม็ด กรณีที่รับประทานวันละ 3 เม็ดให้รับประทานตอนเช้า 1 เม็ด และก่อนนอน 2 เม็ด หากวันละ 4 เม็ด ให้รับประทานตอนเช้า 1 เม็ด บ่าย 1 เม็ด และก่อนนอน 2 เม็ด

ปัจจุบันมีการนำเอสโตรเจนมาผสมร่วมกับ bazedoxifene ซึ่งเป็นยาตัวใหม่ในกลุ่ม third-generation selective estrogen receptor modulators (SERMs) เพื่อรักษาอาการในสตรีวัยหมดระดู ซึ่งเอสโตรเจนที่ใช้คือ conjugated estrogens ออกฤทธิ์กระตุ้น estrogen receptor (ER) ทั้งชนิด ER-alpha และ ER-beta ส่วน bazedoxifene ออกฤทธิ์เหมือนเอสโตรเจน (เป็น agonist) ที่เนื้อเยื่อหรืออวัยวะบางแห่ง เช่น กระดูก และออกฤทธิ์ต้านเอสโตรเจน (เป็น antagonist) ที่เนื้อเยื่อหรืออวัยวะอื่น เช่น มดลูก จึงลดความเสี่ยงต่อการเกิด endometrial hyperplasia ที่พบได้จากการใช้เอสโตรเจนโดยลำพัง ยา bazedoxifene มีใช้แล้วในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป โดยใช้เป็นยาเดี่ยวสำหรับรักษาภาวะกระดูกพรุน

 

ด้วยอากาศที่เปลี่ยนแปลงมากในปัจจุบัน ทั้งอุณหภูมิความร้อนเพิ่มขึ้นจนเป็นที่น่าตกใจ ซึ่งภาคเหนือเองได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากจากมรสุมลมร้อน ทำให้มีอากาศที่ร้อนสูงสุดถึง 42 องศาเซลเซียส นั้นอาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้คุณเป็น “โรคลมแดด หรือ Heat Stroke” โรคที่ใหม่ในยุคปัจจุบันแต่อาจคร่าชีวิตของคุณ และคนใกล้เคียงได้

โรคลมแดด คือภาวะที่อุณหภูมิในร่างกายสูงเกิน 40.5 องศาเซลเซียส เกิดจากการที่อยู่ในสถานที่ที่อุณหภูมิร้อนมากๆ และร่างกายไม่สามารถปรับตัวลดอุณหภูมิให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ส่งผลเสียต่อระบบประสาท หัวใจ และไต เป็นเหตุให้เสียชีวิตได้

ส่วนสาเหตุของโรคลมแดดนั้นมาจากการอยู่ในสถานที่ที่อากาศร้อนจัด โดยเฉพาะขณะที่อากาศร้อนชื้น หรือการออกกำลังกายอย่างหนัก โดยเฉพาะเมื่อออกกำลังกายในสถานที่ที่อากาศร้อน อาจมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่กระตุ้นให้เป็นโรคลมแดดได้ง่ายขึ้น เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าที่หนาเกินไปจะทำให้เหงื่อระบายได้ยาก การดื่มแอลกอฮอล์ ร่างกายอยู่ในภาวะขาดน้ำ ทานน้ำน้อย เป็นต้น

เป็นที่น่าแปลกใจว่า ทั้งๆ ที่มีประชากรทั่วโลกเป็นผู้ป่วยเบาหวานกันนับล้านๆ คน แต่ผู้คนส่วนใหญ่บนโลกนี้ก็ยังได้ชื่อว่า “เข้าไม่ถึง” การรักษาโรคเบาหวาน โดย ข้อมูลล่าสุด จากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย เผยว่า โรคเบาหวานในประเทศไทยมีจำนวนการเข้ารับบริการสูงเป็นอันดับที่ 2 ของการรับบริการผู้ป่วยนอกในทุกโรงพยาบาล

- ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานราว 5 ล้านคน คิดเป็น 1 ใน 10 ของประชากรที่อายุ 15 ปีขึ้นไป
- มีอัตราเพิ่มขึ้นประมาณ 100,000 คนต่อปี
เพราะผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวนมากต้องการการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่ โดยแพทย์หญิงพร้อมพรรณ พฤกษากร ผู้เชี่ยวชาญโรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม แห่งแผนกอายุรกรรม คำนึงถึงจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เพิ่มสูงขึ้นจึงมีการเตรียมความพร้อมให้บริการคำปรึกษาและรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ทั้งด้านการดูแลรักษา การควบคุมอาหาร ด้านเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง นักโภชนาการ เภสัชกร และทีมสหสาขาวิชาชีพพร้อมดูแลให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถ “เข้าถึง” การรักษาและดูแลตัวเองได้อย่างยั่งยืน