แหล่งสืบค้นข้อมูล

♦ วิธีผสมยาตามคำสั่งอัตราส่วน โรงพยาบาลสุโขทัย  

♦ แนวทางการประเมินและติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ADR)

♦ แนวทางการบริหารยาฉีด และการเก็บรักษายา multiple dose

♦ แนวทางปฏิบัติการ บริหารความคลาดเคลื่อนทางยา

♦ แนวทางปฏิบัติการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

♦ แนวทางปฏิบัติการบริหารจัดการยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)

♦ คู่มือการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)

♦ แนวทางปฏิบัติเมื่อพบปฏิกิริยาระหว่างยา (Drug Interaction)

♦ แนวทางการประเมินและทบทวนการใช้ยาต้านจุลชีพ (DUE)

♦ แนวทางปฏิบัติการจัดทำประสานรายการยา (Medication reconciliation)

♦ แนวทางปฏิบัติการกระจายยยา การเก็บรักษา และการควบคุมยาบนหอผู้ป่วย

♦ แนวทางปฏิบัติเกี่ยวการเก็บรักษายาแช่เย็นและวัคซีน  

♦ แนวทางการปฏิบัติสำหรับการเฝ้าระวังอุณหภูมิตู้เย็นจัดเก็บยา

♦ แนวทางการปฏิบัติการบริหารยาเคมีบำบัด

♦ แนวทางการปฏิบัติงานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก

♦ แนวทางปฏิบัติงานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยใน

♦ แนวทางการปฏิบัติงาน การคัดกรองใบสั่งยาผู้ป่วยนอก (Prescribing Screening OPD) 

♦ แนวทางการปฏิบัติงาน การคัดกรองใบสั่งยาผู้ป่วยใน (Prescribing Screening IPD) 

♦ การควบคุมยาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท

♦ แนวทางการป้องเกิด Phlebitis 

♦ แนวทางการจัดการ Phlebitis

♦ แนวทางปฏิบัติ Norepinephrine

♦ การบริหารยา Vancomycin

♦ ตารางแสดงอายุยาหลังเปิดใช้ (ยา Multiple Dose) ของโรงพยาบาลสุโขทัย

♦ แนวปฏิบัติตามเกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อจัดหาและการส่งเสริมการขายยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา โรงพยาบาลสุโขทัย พ.ศ. 2564

แม้จะมีการนำยาหลายชนิดมาใช้รักษาอาการคลื่นไส้และอาเจียนจากการตั้งครรภ์ (อาการแพ้ท้อง) เช่น ยาในกลุ่ม antihistamines ตัวอย่างได้แก่ diphenhydramine, meclizine, dimenhydrinate ยาในกลุ่ม dopamine antagonists ตัวอย่างได้แก่ promethazine, droperidol, metoclopramide และยาในกลุ่ม serotonin antagonists ตัวอย่างได้แก่ ondansetron เป็นต้น แต่ที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาที่ดีเพียงพอที่จะสนับสนุนประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาเหล่านี้ แม้ว่ายาหลายชนิดจะให้ผลดีกว่ายาหลอกและไม่ทำให้เกิดทารกพิการก็ตาม จนเมื่อเร็วๆ นี้มีการศึกษาทางคลินิกที่สนับสนุนประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาสูตรผสมที่ประกอบด้วย doxylamine succinate 10 มิลลิกรัม กับ pyridoxine hydrochloride 10 มิลลิกรัม เพื่อรักษาอาการคลื่นไส้และอาเจียนจากการตั้งครรภ์ อาจถือได้ว่าเป็นยาตำรับแรกที่ทำการศึกษาแบบ double-blind, randomized, placebo-controlled trial ในหญิงมีครรภ์ และ US FDA จัดยาตำรับนี้อยู่ใน pregnancy category A (ซึ่งหมายถึงมีความปลอดภัยต่อทารกในครรภ์) ยาสูตรผสมดังกล่าวผลิตออกจำหน่ายในรูป delayed-release tablet เพื่อรักษาอาการคลื่นไส้และอาเจียนจากการตั้งครรภ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้โดยไม่ใช้ยา โดยรับประทานวันละ 2 เม็ดก่อนนอน หากควบคุมอาการได้ไม่ดีพอก็สามารถเพิ่มขนาดยาได้ แต่สูงสุดไม่เกินวันละ 4 เม็ด กรณีที่รับประทานวันละ 3 เม็ดให้รับประทานตอนเช้า 1 เม็ด และก่อนนอน 2 เม็ด หากวันละ 4 เม็ด ให้รับประทานตอนเช้า 1 เม็ด บ่าย 1 เม็ด และก่อนนอน 2 เม็ด

ด้วยอากาศที่เปลี่ยนแปลงมากในปัจจุบัน ทั้งอุณหภูมิความร้อนเพิ่มขึ้นจนเป็นที่น่าตกใจ ซึ่งภาคเหนือเองได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากจากมรสุมลมร้อน ทำให้มีอากาศที่ร้อนสูงสุดถึง 42 องศาเซลเซียส นั้นอาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้คุณเป็น “โรคลมแดด หรือ Heat Stroke” โรคที่ใหม่ในยุคปัจจุบันแต่อาจคร่าชีวิตของคุณ และคนใกล้เคียงได้

โรคลมแดด คือภาวะที่อุณหภูมิในร่างกายสูงเกิน 40.5 องศาเซลเซียส เกิดจากการที่อยู่ในสถานที่ที่อุณหภูมิร้อนมากๆ และร่างกายไม่สามารถปรับตัวลดอุณหภูมิให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ส่งผลเสียต่อระบบประสาท หัวใจ และไต เป็นเหตุให้เสียชีวิตได้

ส่วนสาเหตุของโรคลมแดดนั้นมาจากการอยู่ในสถานที่ที่อากาศร้อนจัด โดยเฉพาะขณะที่อากาศร้อนชื้น หรือการออกกำลังกายอย่างหนัก โดยเฉพาะเมื่อออกกำลังกายในสถานที่ที่อากาศร้อน อาจมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่กระตุ้นให้เป็นโรคลมแดดได้ง่ายขึ้น เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าที่หนาเกินไปจะทำให้เหงื่อระบายได้ยาก การดื่มแอลกอฮอล์ ร่างกายอยู่ในภาวะขาดน้ำ ทานน้ำน้อย เป็นต้น

ปัจจุบันมีการนำเอสโตรเจนมาผสมร่วมกับ bazedoxifene ซึ่งเป็นยาตัวใหม่ในกลุ่ม third-generation selective estrogen receptor modulators (SERMs) เพื่อรักษาอาการในสตรีวัยหมดระดู ซึ่งเอสโตรเจนที่ใช้คือ conjugated estrogens ออกฤทธิ์กระตุ้น estrogen receptor (ER) ทั้งชนิด ER-alpha และ ER-beta ส่วน bazedoxifene ออกฤทธิ์เหมือนเอสโตรเจน (เป็น agonist) ที่เนื้อเยื่อหรืออวัยวะบางแห่ง เช่น กระดูก และออกฤทธิ์ต้านเอสโตรเจน (เป็น antagonist) ที่เนื้อเยื่อหรืออวัยวะอื่น เช่น มดลูก จึงลดความเสี่ยงต่อการเกิด endometrial hyperplasia ที่พบได้จากการใช้เอสโตรเจนโดยลำพัง ยา bazedoxifene มีใช้แล้วในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป โดยใช้เป็นยาเดี่ยวสำหรับรักษาภาวะกระดูกพรุน

 

เป็นที่น่าแปลกใจว่า ทั้งๆ ที่มีประชากรทั่วโลกเป็นผู้ป่วยเบาหวานกันนับล้านๆ คน แต่ผู้คนส่วนใหญ่บนโลกนี้ก็ยังได้ชื่อว่า “เข้าไม่ถึง” การรักษาโรคเบาหวาน โดย ข้อมูลล่าสุด จากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย เผยว่า โรคเบาหวานในประเทศไทยมีจำนวนการเข้ารับบริการสูงเป็นอันดับที่ 2 ของการรับบริการผู้ป่วยนอกในทุกโรงพยาบาล

- ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานราว 5 ล้านคน คิดเป็น 1 ใน 10 ของประชากรที่อายุ 15 ปีขึ้นไป
- มีอัตราเพิ่มขึ้นประมาณ 100,000 คนต่อปี
เพราะผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวนมากต้องการการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่ โดยแพทย์หญิงพร้อมพรรณ พฤกษากร ผู้เชี่ยวชาญโรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม แห่งแผนกอายุรกรรม คำนึงถึงจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เพิ่มสูงขึ้นจึงมีการเตรียมความพร้อมให้บริการคำปรึกษาและรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ทั้งด้านการดูแลรักษา การควบคุมอาหาร ด้านเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง นักโภชนาการ เภสัชกร และทีมสหสาขาวิชาชีพพร้อมดูแลให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถ “เข้าถึง” การรักษาและดูแลตัวเองได้อย่างยั่งยืน